Skip to content

ห้องเรียนคุณครูแมว

Wide screen resolution Increase font size Decrease font size Default font size default color black color cyan color green color red color
การสอนแบบโครงการ
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม   

        การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา

        การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้

          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
        เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีหากได้สนทนาร่วมกับเพื่อนและครูเป็นกลุ่มย่อย ในบริบทที่เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการสำรวจจริงๆ ครูสามารถแนะนำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มใหญ่ด้วย

          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)
การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา การทำงานภาคสนามของเด็กไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปนอกสถานที่เสมอไป อาจเป็นการสำรวจสิ่งปลูกสร้าง หรือสนามของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในโรงเรียน การวัด การทำแผนที่ ฯลฯ
หากต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ภาคสนามนอกโรงเรียนอาจเลือกพาเด็กไปสำรวจบริเวณใกล้ๆ โรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนน ป้ายต่างๆ บ้าน สนาม อาคาร โบราณสถาน สถานีขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจัดให้เด็กได้พูดคุยกับบุคคลซึ่งเป็นภูมิปัญญาในเรื่องนั้น ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ใช้บริการสาธารณะ ฯลฯ
        การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย

        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา การกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่การสืบค้น การแสดงสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ เด็กๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ การสร้างแบบจำลองต่างๆ ฯลฯ
        เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง

        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย

        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ

 

ระยะของโครงการ

 

กระบวนการ

ระยะที่ 1

ระยะที่ 2

ระยะที่ 3

การอภิปรายกลุ่ม

-แลกเปลี่ยนประสบการณ์

 เดิมและความรู้ (ขณะ

 ปัจจุบัน) เกี่ยวกับหัวเรื่อง

-การเตรียมการสำหรับงาน

 ภาคสนามและการสัมภาษณ์

-การทบทวนประสบการณ์

 จากงานภาคสนาม

-การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

 ทุติยภูมิ

-การเตรียมการเพื่อการ

 แลกเปลี่ยนเรื่องราวเกี่ยวกับ

 โครงการ

-การทบทวนและประเมิน

 โครงการ

การทำงานภาคสนาม

-เด็กๆ พูดคุยกับพ่อแม่

 เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม

-การออกไปนอกชั้นเรียน

 เพื่อสำรวจ (ภาคสนาม)

-การสัมภาษณ์ผู้รู้ในสนาม

 หรือในห้องเรียน

-การประเมินโครงการผ่าน

 สายตาของของผู้อื่น

การนำเสนอ

-การวาดภาพ การเขียน

 การสร้าง การเล่นสมมุติ

 ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยน

 ประสบการณ์และความรู้

-การเขียนภาพโครงร่าง หรือ

 การบันทึกจากงาน

 ภาคสนาม

-การวาด ระบาย เขียน ทำ

 แผนภูมิ แผนที่ ฯลฯ เพื่อ

 นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้

-การกลั่นกรองและสรุป

 เรื่องราวที่ได้เรียนรู้เพื่อ

 แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

การสืบค้น

-การตั้งคำถามจากความรู้เดิม

-การตอบคำถามที่ตั้งไว้ใน

 ระยะแรก

-การค้นคว้าจากภาคสนาม

 หรือห้องสมุด

-การตั้งคำถามเพิ่มเติม

-การตั้งคำถามใหม่

การจัดแสดง

-การแลกเปลี่ยนสิ่งที่

 นำเสนอประสบการณ์เดิม

 เป็นรายบุคคล

-การแลกเปลี่ยนสิ่งที่

 นำเสนอจากประสบการณ์

 หรือความรู้ใหม่

-การบันทึกความก้าวหน้า

 ของโครงการ

-การสรุปการเรียนรู้ตลอดทั้ง

 โครงการ



ตัวอย่างแผนภูมิ และแผนภาพเพื่อการนำเสนอประสบการณ์

images/stories/1002.jpg
images/stories/1003.jpg
images/stories/1004.jpg


*** บทความนี้สามารถดาวน์โหลดไฟล์รูปแบบ pdf ได้ *** 



ความคิดเห็นผู้ใช้

เสนอแนะโดย nongnice เปิด 2010-09-09 12:57:11
ขอบคุณค่ะที่คุณครูแมวได้กรุณาจัดทำเอกสารเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้ความรู้กับทุกคนโดยเฉพาะกับหนูครูผู้ดูแลเด็กที่ต้องการหาความรู้ เคยได้เข้ารับการอบรมจากครูแมวและได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนทุ่งมหาเมฆด้วย อยากเก่งเหมือนครูแมวค่ะ

เสนอแนะโดย arunee เปิด 2011-06-09 16:08:41
อ่านแล้วเข้าใจและมองเห็นภาพความสุขของเด็ก ๆนะคะ

เสนอแนะโดย PAY เปิด 2011-06-22 19:40:58
อยากได้แบบโครงานหลายๆเรื่อง

เสนอแนะโดย muai เปิด 2011-08-21 13:31:45
เพิ่งได้อ่านเจอบทความของครูแมว เป็นบทความที่ดีและมีประโยชน์มาก ดิฉันเป็นผู้ดูแลเด็กทำงานในสายงานนี้มา 2 ปีแล้วได้รับการฝึกอบรมน้อย ศูนย์เป็นศูนย์ที่เปิดใหม่เอกสารต่างๆยังน้อย การจัดมุมประสบการณ์ให้เด็กทำได้ไม่ดีนัก บทความของครูแมวมีประโยชน์ต่อดิฉันมาก ขอบคุณค่ะที่ช่วยแบ่งปันสิ่งดีๆให้

เสนอแนะโดย pawinee เปิด 2011-09-20 19:51:24
ขอบคุณครูแมวมาก ๆ เลยนะค่ะที่นำความรู้ดี ๆ มาฝากสำหรับการจัดกิจกรรมเด็ก

เสนอแนะโดย chiranankung เปิด 2012-04-07 20:33:31
ขอบคุณค่ะครูแมว เป็นบทความที่สุดยอดเลยสามารถนำมาปรับใช้กับเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้เป็นอย่างดีค่ะ

เสนอแนะโดย Krusu เปิด 2013-06-28 23:29:47
ขอบคุณครูแมว มากคะที่ให้บทความดีๆๆๆ สามารถปรับใช้่กับเด็กได้

Please login or register to add comments